วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์

"...คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความ มั่นคง ชอบแต่มักง่ายไม่มีวันจะ สร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ..."


ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


"...ความเจริญนั้นจะเกิดขึ้นได้ ย่อมต้อง อาศัยเหตุปัจจัยประกอบกันหลายอย่าง นอก จากวิทยาการที่ดีแล้ว จะต้องอาศัยความยุติธรรมเที่ยงตรง และความสะอาดสุจริต ซึ่งต้องเป็นไป พร้อมทั้งในความคิดและการกระทำ..."

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๘


"...การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย..."


ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๒๐


"...เมื่อคิดเรื่องใดสิ่งใดต้องทำใจ ให้มั่นคงเป็นกลาง มีเหตุมีผล ความจริงใจและสุจริตเที่ยงธรรม เพื่อความคิดจักได้กระจ่างแน่วแน่ เห็นถึงจุดหมายและประโยชน์ที่แท้ ของภารกิจของตน อย่างถูกต้องครบ ถ้วนมีอิสรภาพ..."


ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๓๓

"...การที่จะประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเป็น ผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร และความซื่อสัตย์เป็นรากฐานสำคัญ ประกอบกับจะต้องเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและย่อมที่จะ บำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวมตามโอกาส อีกด้วย..."


ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙


"...คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความ โลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียน คนอื่นน้อยถ้ามีความคิดอันนี้ มีความ คิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอ ประมาณซื่อตรง ไม่โลภอย่างมากคนเราก็อยู่เป็นสุข..."


ความตอนหนึ่ง ในพระราดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิตาลัย
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

"...ผู้ที่มีที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามสิ่งที่ ยึดมั่นนั้นคือ ความดีเป็นผู้ที่เจริญ เพราะว่าคนเราถ้าทำงานอะไร ไม่มีความคิดที่แจ่มใส ไม่มีความ คิดที่บริสุทธิ์ไม่สามรถที่ปฏิบัติงานได้เป็น ผลสำเร็จที่ดีงามและยั่งยืน..."


ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ณ สวนอัมพร
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๒


"...คุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคน นั้น ที่สำคัญได้แก่ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความไม่เห็น แก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นความ ไม่มักง่ายหยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ เป็นพิเศษ คือความขยันหมั่นเพียรด้านความซื่อสัตย์สุจริต...


ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ณ สวนอัมพร
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๒













วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

                                                       การตกไข่     คือ การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน ถ้านับวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 การตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณ วันที่ 13-15 เมื่อไข่ได้รับการผสม จะมีการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 เป็น 4 ไปเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันจะเคลื่อนที่จากท่อนำไข่เพื่อไปฝังตัวที่ผนังมดลูก ซึ่งผนังมดลูกมีลักษณะที่หนามากขึ้นเพื่อเตรียมตัวสำหรับรับไข่ที่ได้รับการผสม  เมื่อเอ็มบริโอฝังตัวกับผนังมดลุกแล้วนั้น ก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างต่อไปเรื่อยๆกระทั่ง มีอายุได้ 8 สัปดาห์ เอ็มบริโอจะมีลักษณะทุกอย่างเหมือนกับคน และกระดูกในร่างกายจะเปลี่ยนจากกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแข็ง
โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้



- อายุ 3 สัปดาห์ เริ่มมีหัวใจ สมอง และกระดูกไขสันหลัง- อายุ 4 สัปดาห์ เริ่มมี ตา ปุ่มแขน และปุ่มขา
- อายุ 5 สัปดาห์ ปุ่มแขนและปุ่มขาขยาายขนาดใหญ่ขึ้น เรื่อยๆ
- อายุ 6 สัปดาห์ เริ่มมีหู
- อายุ 7 สัปดาห์ เริ่มมีแผดานในช่องปาก
- อายุ 8 สัปดาห์ เริ่มปรากฏอวัยวะเพศภายนอก กระดูกในช่องปากเปลี่ยนจากกระดูกอ่อนเป็นกระดุกแข็ง และมีทุกอย่างเหมือนคน หลังจากนั้นเป็นการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆทั้งภายนอก และภายใน เพื่อให้สมบูรณ์ และพร้อมที่จะทำงานได้              
- อายุ 38 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน คลอดออกมาเป็นทารก  
  • หลักทฤษฎีเซลล์ (Cell Theory). ซึ่งทฤษฎีนี้ระบุว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะต้องประกอบไปเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์ ซึ่งเซลล์ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สุดของการทำงานในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ กระบวนการทางกลศาสตร์และทางเคมีต่างก็ล้วนอาศัยเซลล์เป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการเช่นเดียวกัน ทั้งเชื่อว่าเซลล์สามารถเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิด (perexisting cells) ได้เท่านั้น
  • หลักวิวัฒนาการ (Evolution). เชื่อในการเลือกสรรของธรรมชาติ (natural selection) และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • หลักทฤษฎีพันธุกรรม (Gene Theory). เชื่อว่าลักษณะทางพันธุกรรมนั้น ถูกเก็บเป็นรหัสสิ่งมีชีวิตใน DNA ในยีนอันเป็นมูลฐานแห่งการถ่ายทอดพันธุกรรม
  • หลักภาวะธำรงดุล (Homeostasis). เป็นหลักที่เชื่อในการรักษาสมดุลของสิ่งมีชีวิต ในการปรับระบบภาวะแวดล้อมทั้งทางฟิสิกส์และเคมีของระบบภายในสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับระบบภายนอกสิ่งมีชีวิต